วันนี้ ( 23 ต.ค. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองโบคา ราตัน รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า การโต้วาทีครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่หอประชุมมหาวิทยาลัยลินน์ ในเมืองโบคา ราตัน รัฐฟลอริดา ดำเนินรายการโดยบ๊อบ ชิฟเฟอร์ พิธีกรผู้มากประสบการณ์ของรายการ เฟซ เดอะ เนชั่น ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส วัย 75 ปี แบ่งการอภิปรายออกเป็น 6 ช่วง ช่วงละ 15 นาที โดยชิฟเฟอร์จะเป็นผู้ถามคำถาม ก่อนทั้งฝ่ายจะได้รับโอกาสตอบฝ่ายละ 2 นาที ตามด้วยการแลกเปลี่ยนทัศนคติในแต่ละประเด็นตลอดระยะเวลาที่เหลือ ก่อนเริ่มคำถามต่อไป
สำหรับบรรยากาศในการโต้วาทีตลอดระยะเวลา 90 นาทีเต็ม โอบามาซึ่งมีคะแนนนิยมนำรอมนีย์ในด้านภาวะความเป็นผู้นำ เดินหน้าโจมตีอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศตลอดระยะเวลาหาเสียงของรอมนีย์ แสดงถึงความโลเลในการตัดสินใจ และการขาดความหนักแน่น พร้อมกับเตือนว่า การเป็นผู้นำประเทศที่ดีต้องมีความมั่นใจ และเด็ดขาดในการตัดสินใจมากกว่าที่ใครหลายคนคิด ด้านรอมนีย์ ได้โจมตีโอบามากลับเกี่ยวกับนโยบายจัดการผลกระทบจากเหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนเพื่อขับไล่ผู้นำในตะวันออกกลาง และแอฟริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ "อาหรับสปริง" ตลอดจนนโยบายทางทหารในอัฟกานิสถาน อิรัก และลิเบีย โดยกล่าวหาว่า โอบามาประเมินกลุ่มก่อการร้ายต่ำเกินไป และเพิกเฉยต่อรายงานของหน่วยข่าวกรอง จนทำให้เกิดความสูญเสียใหญ่หลวงรวมถึงการจากไปของนายคริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำลิเบีย ซึ่งมาจากความหละหลวมในการจัดการด้านกองกำลังทหาร ซึ่งเหลือน้อยที่สุดเท่าที่เขาเคยพบ ซึ่งโอบามาได้โต้กลับประเด็นดังกล่าวว่า จริงอยู่ที่ปัจจุบันจำนวนทหารอเมริกันน้อยลง นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่กลยุทธ์การรบได้เปลี่ยนไปนานแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ทหารม้า หรือเรือรบจำนวนมากอีกต่อไป ขณะนี้สหรัฐมีอาวุธทรงแสนยานุภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ หรือเรือดำน้ำประสิทธิภาพสูง
อย่างไรก็ตาม รอมนีย์กล่าวชื่นชมโอบามาในการเป็นผู้นำปฏิบัติการสังหารนายโอซามา บิน ลาเดน หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอัล-กออิดะห์ แต่กล่าวเตือนว่า สถานการณ์ในตะวันออกกลางยังคงรุนแรงอยู่มาก และอาจบานปลายจนเหนือการควบคุม โดยเฉพาะวิกฤตสงครามกลางเมืองในซีเรีย รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน ที่โอบามายังไม่แสดงจุดยืนชัดเจนในเรื่องนี้ เพียงเพราะกลัวว่า “ศัตรู” หมายเลข 1 อย่างรัสเซียจะไม่พอใจ ทั้งที่ชาวอิหร่านจำนวนมากเริ่มแสดงความต่อต้านประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า หากเขาได้รับเลือกตั้ง จะทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวผู้นำอิหร่านมาขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศให้ได้ ขณะที่ผู้นำสหรัฐโต้ว่า ตราบใดที่เขายังดำรงตำแหน่งอยู่ อิหร่านจะไม่มีทางได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เด็ดขาด พร้อมกับประกาศจุดยืนสนับสนุนอิสราเอล พร้อมกับปฏิเสธรายงานของ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส ที่ระบุว่า สหรัฐเตรียมเจรจากับอิหร่านในระดับทวิภาคี และโจมตีรอมนีย์กลับว่า การกล่าวหาว่ารัสเซียเป็น “ศัตรู” อันดับ 1 ของสหรัฐ สื่อให้เห็นว่า รอมนีย์ยังมีแนวคิดในด้านนโยบายต่างประเทศที่ล้าสมัยตั้งแต่สมัยสงครามเย็น เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว
ส่วนประเด็นในเรื่องความสัมพันธ์กับจีนนั้น โอบามายืนยันว่า พร้อมพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนเสมอ หากจีนพร้อมปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศ แต่เลี่ยงที่จะพูดถึงความพยายามของจีนในการขยายอิทธิพลในภูมิภาค ขณะที่รอมนีย์ชี้ว่า จีนต้องลดการเอาเปรียบด้านการค้าต่อชาติอื่นๆ และต้องมีค่าเงินหยวนที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่เป็นจริง
ต่อประเด็นวิกฤตสงครามกลางเมืองในซีเรีย ทั้งคู่เห็นพ้องกันว่า สหรัฐไม่ควรแสดงบทบาทในเรื่องนี้มากจนเกินไปในตอนนี้ ขณะที่โอบามาเน้นย้ำว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ทำทุกวิถีทางที่จำเป็นแล้ว ต่อสถานการณ์รุนแรงในซีเรีย
ส่วนผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนล่าสุดหลังเสร็จสิ้นการโต้วาที ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นร่วมกับสำนักวิจัยโออาร์ซี ยกให้โอบามาชนะรอมนีย์ด้วยคะแนน 48 ต่อ 40% ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ให้โอบามาชนะรอมนีย์ขาดลอยที่ 53 ต่อ 23% และมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนำรอมนีย์อยู่ที่ 237 ต่อ 191 ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนดังกล่าวถึง 270 ก่อน ในการเลือกตั้งวันที่ 6 พ.ย. จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนต่อไป.
สำหรับบรรยากาศในการโต้วาทีตลอดระยะเวลา 90 นาทีเต็ม โอบามาซึ่งมีคะแนนนิยมนำรอมนีย์ในด้านภาวะความเป็นผู้นำ เดินหน้าโจมตีอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศตลอดระยะเวลาหาเสียงของรอมนีย์ แสดงถึงความโลเลในการตัดสินใจ และการขาดความหนักแน่น พร้อมกับเตือนว่า การเป็นผู้นำประเทศที่ดีต้องมีความมั่นใจ และเด็ดขาดในการตัดสินใจมากกว่าที่ใครหลายคนคิด ด้านรอมนีย์ ได้โจมตีโอบามากลับเกี่ยวกับนโยบายจัดการผลกระทบจากเหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนเพื่อขับไล่ผู้นำในตะวันออกกลาง และแอฟริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ "อาหรับสปริง" ตลอดจนนโยบายทางทหารในอัฟกานิสถาน อิรัก และลิเบีย โดยกล่าวหาว่า โอบามาประเมินกลุ่มก่อการร้ายต่ำเกินไป และเพิกเฉยต่อรายงานของหน่วยข่าวกรอง จนทำให้เกิดความสูญเสียใหญ่หลวงรวมถึงการจากไปของนายคริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำลิเบีย ซึ่งมาจากความหละหลวมในการจัดการด้านกองกำลังทหาร ซึ่งเหลือน้อยที่สุดเท่าที่เขาเคยพบ ซึ่งโอบามาได้โต้กลับประเด็นดังกล่าวว่า จริงอยู่ที่ปัจจุบันจำนวนทหารอเมริกันน้อยลง นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่กลยุทธ์การรบได้เปลี่ยนไปนานแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ทหารม้า หรือเรือรบจำนวนมากอีกต่อไป ขณะนี้สหรัฐมีอาวุธทรงแสนยานุภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ หรือเรือดำน้ำประสิทธิภาพสูง
อย่างไรก็ตาม รอมนีย์กล่าวชื่นชมโอบามาในการเป็นผู้นำปฏิบัติการสังหารนายโอซามา บิน ลาเดน หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอัล-กออิดะห์ แต่กล่าวเตือนว่า สถานการณ์ในตะวันออกกลางยังคงรุนแรงอยู่มาก และอาจบานปลายจนเหนือการควบคุม โดยเฉพาะวิกฤตสงครามกลางเมืองในซีเรีย รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน ที่โอบามายังไม่แสดงจุดยืนชัดเจนในเรื่องนี้ เพียงเพราะกลัวว่า “ศัตรู” หมายเลข 1 อย่างรัสเซียจะไม่พอใจ ทั้งที่ชาวอิหร่านจำนวนมากเริ่มแสดงความต่อต้านประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า หากเขาได้รับเลือกตั้ง จะทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวผู้นำอิหร่านมาขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศให้ได้ ขณะที่ผู้นำสหรัฐโต้ว่า ตราบใดที่เขายังดำรงตำแหน่งอยู่ อิหร่านจะไม่มีทางได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เด็ดขาด พร้อมกับประกาศจุดยืนสนับสนุนอิสราเอล พร้อมกับปฏิเสธรายงานของ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส ที่ระบุว่า สหรัฐเตรียมเจรจากับอิหร่านในระดับทวิภาคี และโจมตีรอมนีย์กลับว่า การกล่าวหาว่ารัสเซียเป็น “ศัตรู” อันดับ 1 ของสหรัฐ สื่อให้เห็นว่า รอมนีย์ยังมีแนวคิดในด้านนโยบายต่างประเทศที่ล้าสมัยตั้งแต่สมัยสงครามเย็น เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว
ส่วนประเด็นในเรื่องความสัมพันธ์กับจีนนั้น โอบามายืนยันว่า พร้อมพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนเสมอ หากจีนพร้อมปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศ แต่เลี่ยงที่จะพูดถึงความพยายามของจีนในการขยายอิทธิพลในภูมิภาค ขณะที่รอมนีย์ชี้ว่า จีนต้องลดการเอาเปรียบด้านการค้าต่อชาติอื่นๆ และต้องมีค่าเงินหยวนที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่เป็นจริง
ต่อประเด็นวิกฤตสงครามกลางเมืองในซีเรีย ทั้งคู่เห็นพ้องกันว่า สหรัฐไม่ควรแสดงบทบาทในเรื่องนี้มากจนเกินไปในตอนนี้ ขณะที่โอบามาเน้นย้ำว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ทำทุกวิถีทางที่จำเป็นแล้ว ต่อสถานการณ์รุนแรงในซีเรีย
ส่วนผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนล่าสุดหลังเสร็จสิ้นการโต้วาที ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นร่วมกับสำนักวิจัยโออาร์ซี ยกให้โอบามาชนะรอมนีย์ด้วยคะแนน 48 ต่อ 40% ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ให้โอบามาชนะรอมนีย์ขาดลอยที่ 53 ต่อ 23% และมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนำรอมนีย์อยู่ที่ 237 ต่อ 191 ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนดังกล่าวถึง 270 ก่อน ในการเลือกตั้งวันที่ 6 พ.ย. จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนต่อไป.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น