ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ
www.becomz.com

ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ รามคำแหง

เปิดบริการซ่อมคอมพิวเตอร์ถึงที่สะดวกรวดเร็ว ด้วยทีมงานช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ มืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 10 ปี ที่จะไปบริการซ่อม ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน วัด โรงเรียน ร้านอินเตอร์เน็ต ฯลฯ โดยคิดอัตราค่าบริการเริ่มต้นเพียง 500 บาทต่อเครื่องเท่านั้น

การให้บริการ

หากลูกค้ายืนยันการซ่อมแล้วทางเราออกเดินทาง ไปแล้วยกเลิกการซ่อมในขณะที่ทางเราเดินทางไปถึงแล้วจะต้องเสียค่าเสียเวลาและการเดินทาง 500 บาท

พื้นที่ที่บริการ

ซ่อมคอมนอกสถานที่,ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ 082-663-3157 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง (ปล. ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4 )

อัตราค่าบริการ becomz

ติดต่อ : TaNDesgin โทร. 082-663-3157 www.i-comz.com

บริการหลังการซ่อม โดย www.i-comz.com

ทุกงานซ่อมรับเราประกัน 1 สัปดาห์เต็ม หากปัญหาเดิมยังอยู่ เราจะไปบริการซ่อมให้ฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่เคยใบ้บริการกับทาง www.i-comz.com เรามีบริการซ่อมคอมออนไลน์ฟรีให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่า

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การ์ดแสดงผล (Display หรือ VGA Card) ของคอมพิวเตอร์

การ์ดแสดงผลอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวีดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะ ช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ด

การ์ดจอบางแบบอาจถูกออกแบบติดไว้กับเมนบอร์ด โดยเฉพาะเมนบอร์ดแบบ ATX ซึ่งมี อยู่หลายยี่ห้อที่ได้รวมการ์ดจอเข้ากับเมนบอร์ด อาจสะดวกและ ประหยัด แต่หากพูดถึงประสิทธิภาพ โดยรวมของเครื่องแล้ว อาจจะไม่ดีเท่ากับการ์ดที่แยกต่างหากจากเมนบอร์ด ซึ่งอาจแบ่งช่วงของการ ใช้การ์ดจอได้ดังนี้
1. การ์ดจอแบบ ISA และ VL 
เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป
2. การ์ดจอแบบ PCI 
เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลายๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA
3. การ์ดจอแบบ AGP 
เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
การ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้ กรณีที่ต้องการดูหนังหรือร้อง คาราโอเคะ ก็ต่อเข้าจอ 29" ร้องกันให้สะใจไปเลย
4. การ์ดจอแบบ 3 มิติ 
การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมสามมิติ ตัดต่อวีดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคอเกมเมอร์ทั้งหลาย เพราะคนใช้งาน ทั่วๆ ไป อย่างเราๆ การ์ดธรรมดา ก็พอแล้ว มันแพงครับ บางตัว 20,000 กว่าบาท เกือบซื้อเครื่องดีๆ ได้อีกตัว การ์ดจอต่างๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่วๆไป จึงต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP แต่ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเป็นแบบ AGP มากกว่า

ตัวอย่างการ์ดจอ 3 มิติ Asus V7700 Ultra, Winfast GF2 Ultra, Hercules 3D Prophet II Ultra, Ati Radeon All-In-Wonder เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับการ์ดจอก็คือ การ์ดจอนั้นๆ เป็นแบบ ISA, PCi หรือ AGP และ เป็นการ์ดแบบ 2 มิติหรือ 3 มิติ ซึ่งต้องมีพัดลมระบายความร้อนด้วย
การเลือกซื้อการ์ดจอ
การเลือกซื้อการ์ดจอให้ดูที่เมนบอร์ดก่อนว่ารองรับการ์ดจอแบบใด และก็ดูที่จุดประสงค์ในการ นำการ์ดจอมาใช้งานด้วย ถ้าใช้ทำงานทั่วๆ ไป ก็ไม่มีปัญหา ใช้การ์ด จอทั่วๆ ไปได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเล่นเกม ต้องการ์ดจอแบบ 3 D ส่วนท่านใดที่เป็นครู อาจารย์ วิทยากร อาจเลือกแบบที่มี TV Out เพื่อต่อ ออกทีวีเวลาบรรยาย
Share:

แรม (RAM) ของคอมพิวเตอร์

RAM เป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Random Access Memory การมี แรมมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นและใช้งานโปรแกรมใหญ่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะ โปรแกรมประเภทกราฟิกหรือเปิดใช้งานหลายๆ โปรแกรม ในเวลาเดียวกันได้ (Multitasking) ความจุ ของแรมจะมีหน่วยวัดเป็นไบต์ (Byte) แรมมีหลายประเภท ราคาก็แตกต่างกันไป

DRAM (Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำที่มีราคาถูกสุดและทำงานช้าที่สุด นิยมนำมาใช้ เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์
EDO RAM (Enhanced Data Output RAM) เป็นแรมที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการแสดงผลกราฟิกได้ดีกว่า แรมแบบธรรมดาหรือ SIMM RAM ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมหรือใช้กับเมนบอร์ด Socket 7
SDRAM เป็นหน่วยความจำที่ทำงานเร็วกว่า DRAM และ EDO RAM และได้รับความนิยม อย่างมากในปัจจุบันโดยใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Celeron, Pentium II, III, 4, Amd Duron และ Thunderbird หรือใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370, Slot I และ Socket A และก็อาจมีใช้กับ เมนบอร์ดแบบ Socket 7 บางรุ่น ที่ใช้ซีพียูของ Cyrix หรือ AMD เช่น Cyrix MII, III, Amd K6-II, K6-III
RDRAM เป็นหน่วยความจำที่ทำงานเร็วกว่า SD RAM มีราคาค่อนข้างแพง โดยใช้กับซีพียู เพนเทียมโฟร์ของอินเทล ที่มีความเร็ว 1 Gb ขึ้นไป
DDR SDRAM เนื่องจาก RDRAM แพงเกินไป ไม่เป็นที่นิยม จึงได้มีการผลิตแรมแบบ DDR SDRAM ขึ้นมา เพื่อใช้กับซีพียูความเร็วสูงของเอเอ็มดีและอินเทลระดับ 1 Gb ขึ้นไป จะมีอยู่ใน เมนบอร์ดบางรุ่น เช่น MSI K7T266 Pro สำหรับซีพียูของเอเอ็มดี และบางรุ่นอาจจะมีให้เลือกใช้ทั้ง SDRAM และ DDR SDRAM ในเมนบอร์ด เดียวกัน

การเลือกซื้อแรม
แรมในท้องตลาดมีหลายแบบ หลากยี่ห้อ เช่น SIMM EDO, DIMM SDRAM PC 100/133, DIMM DDR SDRAM PC2100 และ RIMM RDRAM PC800
การเลือกซื้อให้ดูที่เมนบอร์ดว่ารองรับแรมแบบใด แรมแบบ DDR SDRAM และ RD-RAM จะมีราคาแพงกว่าแรมแบบ SDRAM เพราะประสิทธิภาพและมีความเร็ว สูงกว่า
ทั้งนี้เมนบอร์ดบางรุ่น จะมีตัวเลือกให้ติดตั้งแรมได้ทั้งสองแบบ คือ แบบ SDRAM และ DDR SDRAM หรือ SDRAM และ RDRAM การเลือกซื้อเมนบอร์ด แรม และซี พียู อาจขอคำแนะนำ จากทางร้านก็ได้ว่า ถ้าเลือกเมนบอร์ดแบบนี้ จะเลือกใช้ซีพียู แรม และการ์ดจอแบบใด อุปกรณ์ทั้ง 4 ชิ้นนี้ควรซื้อร้านเดียวกัน และให้ทางร้าน เซ็ตค่าซีพียูบนเมนบอร์ดให้เรียบร้อย ถ้ากลัวจะเซ็ตค่าไม่ถูก ข้อดีอีกอย่างก็คือถ้าอุปกรณ์มีปัญหา ก็ยกความผิดให้ทางร้าน หาแพะได้ไม่ยาก เคลมง่าย นอกจาก นี้ อาจศึกษาจาก คู่มือของเมนบอร์ดก็ได้ ก่อนจะไล่ซื้อไปทีละชิ้น
Share:

ซีพียู CPU ของคอมพิวเตอร์

CPU (Central Processing Unit) หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ เปรียบได้กับ สมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คิด คำนวณและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ การเรียกคอมพิวเตอร์ อีกแบบหนึ่ง นอกจากยี่ห้อแล้วก็นิยมเรียกตามความเร็วของซีพียู

การเลือกใช้ซีพียูที่ความเร็วเท่าไรนั้นให้พิจารณางานที่ทำอยู่ หากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไปใน สำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเลือกประมาณ เพนเทียม 200 MHz ขึ้นไป ก็ ใช้งานได้สบาย และในปัจจุบัน เครื่องใหม่ๆ จะมีความเร็วตั้งแต่ 700 MHz ขึ้นไป จึงไม่ต้องกลัวเรื่องตกรุ่น หากใช้งานโปรแกรม ประเภทกราฟิค 3 มิติ ออกแบบ เล่นเกม ประเภทนี้เครื่องต้องแรง แบบนี้ต้องเลือกซีพียูความเร็ว สูง แต่ถ้าเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้มากนัก ผู้เขียนเองยังใช้เครื่องกระจอกๆ 486DX-100, Pentium 150, Pentium 200 มีดีหน่อยก็ Pentium II 450 MHz เมื่อเทียบกับเครื่องที่ขายกัน อยู่ในตอนนี้ ความเร็ว ความแรง คนละเรื่องกันเลย แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน ตกแต่งภาพ ดูหนังฟังเพลงได้สบาย ใช้มาตั้งแต่ปี 41 ก็ดูเหมือนจะใช้ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะพังกันไปข้าง ใคร่แนะนำ ว่า ระหว่างที่เขาอยู่กับเรา ก็จงใช้ให้คุ้มกับความสามารถเครื่องที่มีอยู่ น่าจะดีกว่านะ

นอกจากซีพียูที่ผลิตโดยอินเทลแล้วก็มีของ AMD เช่น K5, K6, K6-II, K6-III, K7,Duron, Thunderbird และ Athlon XP และ ซีพียูของ VIA Cyrix/IBM เช่น 6x86L, 6x86MX, MII-300/333, MIII-533/550/600 และ VIA Cyrix III

ซีพียูมีอยู่หลายชนิดหลายบริษัท ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดที่นิยม ใช้กันมากๆ ในบ้านเรา โดยจะแยกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ อินเทล (Intel) และเอเอ็มดี (AMD) เหมือนกับ การแยกชนิดของเมนบอร์ด
ซีพียูของอินเทล
จะแบ่งเป็น 3 แบบตามชนิดของเมนบอร์ดดังนี้
1. ซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการติดตั้งแบบ FC-PGA 370
สำหรับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็นเซเลอรอนและเพน เทียมทรี (Celeron & Pentium III)

2. ซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการติดตั้งแบบ FC-PGA 423
สำหรับเมนบอร์ดแบบ Socket 423 ซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็นเพนเทียมโพร์

3. ซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการติดตั้งแบบ FC-PGA2 478
สำหรับเมนบอร์ดแบบ Socket 478 ซีพียู่ในกลุ่มนี้จะเป็นเพนเทียมโฟร์เหมือนกัน

ซีพียูของเอเอ็มดี
เป็นซีพียูของเอเอ็มดี ในปัจจุบันที่มีวางขายอยู่จะเป็นซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการ ติดตั้งแบบ Socket A ทั้งหมด จะมีรุ่นต่างๆ เช่น Duron, Athlon Thunderbird และ Athlon XP

ส่วนประกอบต่างๆ ของซีพียู
ซีพียูแต่ละแบบจะมีส่วนประกอบต่างๆ คล้ายๆ กัน
1. จำนวนขาหรือพินจะมีตำแหน่งที่บ่งบอกว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด ซึ่งจะสัมพันธ์กับตัวซ็อกเกต ที่เมนบอร์ด การติดตั้งก็เพียงแต่วางซีพียูลงไปบนซ็อกเกตให้ตำแหน่ง ขาที่ 1 ตรงกัน

2. ตำแหน่งติดตั้งพัดลมระบายความร้อน (Heating) ต้องใส่ใจพอสมควร โดยเฉพาะซีพียู ของเอเอ็มดี จะมีความร้อนสูงกว่าของอินเทล จึงต้องเลือกพัดลมที่มี คุณภาพพอสมควร พัดลมดีๆ สักตัวแพงพอๆ กับซีพียูเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นซีพียูรุ่นเก่าโดยเฉพาะของ อินเทลจะมีพัดลมติดมาพร้อม กับซีพียูด้วย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม เหมือนของเอเอ็มดี

3. สายไฟพัดลมซีพียู เมื่อติดตั้งพัดลมก็จะมีสายไฟต่อไฟเข้าพัดลม ให้นำสายไฟไปต่อที่ ตำแหน่ง CPU FAN บนเมนบอร์ด

ตำแหน่งซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดแต่ละแบบ จะมีลักษณะเฉพาะสำหรับซีพียู แต่ละรุ่น จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยกับการติดตั้งซีพียูลงบนซ็อกเก็ต เพราะ ถ้าผิดตัวผิดทางก็ไส่ไม่ได้อยู่แล้ว

การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซื้อซีพียู ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเลือกซีพียูของอินเทลมากกว่าของ AMD ที่เป็นคู่แข่ง แม้ราคาจะถูกกว่าและประสิทธิภาพ ก็ไม่ได้ด้อยกว่า โดยเฉพาะ Athlon XP หากเทียบประสิทธิภาพ การทำงานกับ Pentium 4 แล้วหลายๆ ด้านดีกว่ามาก คุ้มค่าเงินมากว่า แต่ซีพียูของเจ้านี้จะมีปัญหา ก็เรื่องความร้อน ราคาซีพียูไม่แพง แต่ต้องเลือกซื้อพัดลมระบายความร้อนดีๆ มาติดให้กับซีพียู ก็หายห่วง

หากมองในข้อดีแล้วซีพียูของ AMD จะได้เปรียบในเรื่องการอัพเกรด ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะ มีซ็อกเก็ตแบบเดียวคือ Socket A ใช้กับซีพียูได้ทุกรุ่น อัพเกรดโดย เปลี่ยนเฉพาะซีพียูเท่านั้น ในขณะ ที่ซีพียูของอินเทลค่อนข้างหลากหลาย เมนบอร์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ก็หลากหลายตามไปด้วย อัพเกรด แต่ละทีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เพราะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หลายตัว แต่ข้อดีของซีพียูค่านี้ก็คือ เรื่องความร้อน น้อยกว่า และเมื่อความร้อนน้อย ความเสถียรในการทำงานก็จะมีมากกว่า
สรุปหากมองในแง่ความคุ้มค่าเงินแล้ว เลือกซีพียูของ AMD น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับ ผู้ที่มีงบน้อย แต่ต้องการซีพียูประสิทธิภาพคุ้มค่า
Share:

เมนบอร์ดคอมพิวเตอร์

เมนบอร์ด (Main board) เมนบอร์ดหรือมาเธอร์บอร์ด หากเปิดฝาเคสออกก็จะพบแผงวรจร ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่าเมนบอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ เป็นแผงวงจร หลักในระบบคอมพิวเตอร์
สำหรับเมนบอร์ดแบบ AT ซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่แทบจะไม่ใช้กันแล้ว ก็จะไม่อธิบายรายละเอียด อะไรมาก จะเน้นเพียงเมนบอร์ดแบบ ATX โดยแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ ตามชนิดของซีพียูที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน

เมนบอร์ดแบบ Socket 7 และ Slot I รุ่นเก่า ที่อาจไม่ใช้กันแล้วหรือใช้กันน้อยมาก
เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของอินเทลและไซริกซ์
ในปัจจุบันจะมีอยู่ 3 แบบ คือ เมนบอร์ดซ็อกเกต 370, 423 และ 478
1. เมนบอร์ดซ็อกเกต 370
เป็นเมนบอร์ดสำหรับอินเทลเซเลอรอนและเพนเทียมทรี (Celeron และ Pentium III) และซีพียู ของไซริกซ์บางรุ่นคือ Via Cyrix III

2. เมนบอร์ด Secket 423
เป็นเมนบอร์ดสำหรับซีพียูอินเทลเพนเทียม (Pentium 4) ลักษณะโดยรวมของเมนบอร์ดรุ่นนี้ ก็คล้ายๆ กับ Socket 370 ที่แตกต่างกันก็มีตำแหน่งซ็อกเก ตสำหรับติดตั้งซีพียู ที่ตัวซ็อกเก็ตจะพิมพ์ ข้อความ 423 Pin Socket และแรมซึ่งจะใช้แรมแบบ RDRAM ราคาแพงกว่า SDRAM ที่ใช้ใน เมนบอร์ด Socket 370 และ ใช้ระบบบัสได้ถึง 400 MHz ในขณะที่ 370 ใช้ได้เพียง 133 MHz
แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการออกแบบเมนบอร์ดสำหรับเพนเทียมโฟร์ที่สามารถใช้กับ แรมแบบ DDR SDRAM ได้ ซึ่งก็ช่วยให้เครื่องมีราคาถูกลง
3. เมนบอร์ด Secket 478
เป็นเมนบอร์ดสำหรับ Pentium 4 ลักษณะของซ็อกเกตจะมีขนาดเล็กกว่าซ็อกเกต 423 ส่วน ลักษณะโดยรวมๆ อื่นๆ ก็คล้ายกัน และที่ตัวซ็อกเก็ตจะพิมพ์ข้อความ mPGA478B ลักษณะ ของเมนบอร์ดบางแบบจะมีขนาดเล็ก เพื่อใช้กับเคสที่มีขนาดเล็ก แต่ประสิทธิภาพโดยรวมก็ไม่ต่างกัน

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของอินเทลมีให้เลือกหลายแบบ การเลือกใช้ต้องเลือกซื้อเมนบอร์ด ให้ตรงกับรุ่นของซีพียู โดยเฉพาะเพนเทียมโฟร์ที่มีทั้งซ็อกเกต 423 และ 478
เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของเอเอ็มดี
1. เมนบอร์ดแบบ Socket A
เมนบอร์ดแบบ Socket A เป็นเมนบอร์ดสำหรับ CPU ของ AMD คือ Duron, Thunderbird และ Athlon XP ส่วนที่แตกต่างกันของเมนบอร์ดเหล่านี้กับเมนบอร์ดคู่แข่ง หรือ Socket 370 สำหรับ ซีพียูของอินเทล ก็คือตำแหน่งสำหรับติดตั้ง CPU จะพิมพ์ข้อความว่า SOCKET462 และระบบความ เร็ว Bus ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ตำแหน่งติดตั้งแรมจะใช้แรมแบบ SDRAM และ DDR SDRAM เลือกซื้อเลือกใช้ได้ง่ายกว่าของอินเทลเพราะมีแบบเดียวคือซ็อกเกตเอ (Socket A) หรือ Socket462

รายละเอียดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ต้องใส่ใจเมื่อจะเลือกซื้อเมนบอร์ด
1. ซ็อกเกตเป็นแบบใด 370, 423, 478 หรือ 462 (Socket A)
2. ระบบบัสบนเมนบอร์ดรองรับที่ความเร็วเท่าไร 66, 100, 133, 200, 266 หรือ 400 MHz (บนเมนบอร์ดจะมีทางเดินข้อมูล เรียกว่าบัส การรองรับที่ความ เร็วเท่าไร ก็หมายความว่าสามารถรับส่ง ข้อมูลให้วิ่งไปบนทางเดินข้อมูลเหล่านั้นได้ด้วยความเร็วเท่าไร)
3. รายละเอียดอื่นๆ เช่น
- ATX เป็นเมนบอร์ดแบบ ATX
- AGP 4x/AGP Pro รองรับการ์ดจอความเร็วเท่าไร เพื่อจะได้เลือกซื้อการ์ดจอ ได้ตรงกับ ความเร็วที่รองรับบนเมนบอร์ด
- 2 DIMM 168 pin SDRAM ใช้กับแรมแบบ SDRAM ได้ 2 ตัว
- 2 DIMM DDR มีตำแหน่งหรือซ็อกเกตให้เสียบแรมแบบ DDR SDRAM 2 ช่อง
- 2 RIMM 2 DIMM ใช้แรมได้ 2 แบบ คือแบบ RDRAM 2 ช่อง หรือ SDRAM 2 ช่อง โดยเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
- UDMA 66/100/133 รองรับฮาร์ดดิสก์ที่มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 66 / 100 หรือ 133 MHz
ตัวอย่างรายละเอียดในคู่มือเมนบอร์ด
Summary Of Features
Form Factor
30.5 cm x 18.0 cm ATX size form factor, 4 layers PCB.
CPU
Socket 370 Processor
Supports all new Pentium III processors
Intel Pentium III 100/133 MHz FSB, FC-PGA
Intel Celeron 66 MHz FSB, FC-PGA/PPGA
VIA Cyrix III 100/133 MHz FSB, PPGA
Chipset
VT82C694T (VIA Apollo Pro 133T
VT82C686B
Clock Generator
ICS 9248DF-39
66/100/133 MHz system bus speeds (PCI 133 MHz)
75/83/112/124/140/150 MHz system bus speeds (PCI 44 MHz)
Memory
3 168 pin DIMM sockets.
Supports PC-100 / PC-133 SDRAM and VCM SDRAM
Supports up to 1.5 Gb DRAM
Supports only 3.3 v SDRAM DIMM
Supports 72 bit ECC type DRAM integrity mode.
I/O Control
VT82C686B
Slots
1 AGP slot supports 4X mode & AGP 2.0 compliant
5 PCI slot supports 33 MHz & PCI 2.2 compliant
1 AMR (Audio Modem Reser) Slot
1 16-bit ISA Bus slots
On-Board IDE
2 IDE bus master (UDMA 33/ ATA 66/ ATA 100) IDE & supports PIO mode 3, 4 (DMA 33/ ATA66) IDE & ATAPI CD-ROM
On-Board Peripherals
1 floppy port supports 2 FDD with 360K, 720K, 1.2M, 1.44M
1 parallel port supports SPP/EPP/ECP mode
2 serial ports (COM A & COM B)
2 USB ports
1 IrDA connector for Fast IrDA
Hardware Monitor
CPU / System fan revolution detect
CPU / System temperature detect
System voltage detect (Vcore, Vcc3, Vcc, +12V
ACPI Shutdown temperature
PS/2 Connector
PS/2 Keyboard interface and PS/2 Mouse interface
BIOS
Lisecsed AMI BIOS, 2M bit flash ROM
Additional Features
Support Wake-On-LAN (WOL)
Support Internal / External Modem Ring On.
Includes 3 fan power connectors. (PWR-FAN Optional)
Poly fuse for keyboard over-current protection
ความหมายจากข้อความบรรยายคุณลักษณะของเมนบอร์ด
Form Factor
เป็นลักษณะของเมนบอร์ด ซึ่งจะเป็นแบบ ATX ใช้การผลิตแบบ 4 เลเยอร์ PCB ก็แสดงว่า ต้องหาซื้อเคสแบบ ATX มาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้
CPU : Latest Processor Support
เมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับซีพียู Socket 370 รุ่น Pentium III และ Celeron ระบบบัสหรือ FSB รองรับที่ 66/100/133 MHz

Memory : PC133 SDRAM
ส่วนแรมรองรับ 3 168 pin DIMM ติดตั้งแรมแบบ SDRAM PC 100/133 MHz ได้ 3 ช่อง และรองรับเฉพาะแรมแบบ SDRAM ที่ใช้ไฟ 3.3 v. (SDRAM แบบเก่า จะใช้ไฟ 5.0 v. ต้องสอบถาม ทางร้านด้วย แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นแรมที่ใช้ไฟล์ 3.3 v.) ใส่แรมได้สูงสุดที่ 1.5 Gb
Slots
เป็นตำแหน่งสำหรับต่อการ์ดขยายต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็ม ฯลฯ แบบ AGP จะมีสล็อตเดียว รองรับการ์ดจอ ที่ความเร็ว 4x (บางรุ่นรองรับ AGP Pro ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า) ส่วนสล็อตแบบ PCI มีอยู่ 5 ช่อง ก็มากพอที่จะเสียบการ์ดต่างๆ
On Board IDE
มีพอร์ต IDE 2 ช่อง แต่ละช่องต่อสายแพร์ได้ 1 เส้นๆ หนึ่งรองรับฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว ช่องละ สองตัว โดยมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 33/66/100 MHz จะให้ดีก็ เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ที่สามารถรับส่งข้อมูล ได้ที่ 100 MHz มาใช้กับเมนบอร์ดนี้เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่า
On Board Peripherals
เป็นตำแหน่งสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โมเด็ม เมาส์ เครื่องพิมพ์ USB ฟล็อปปี้ดิสด์ และอินฟราเรดพอร์ต
PS/2 Connector
รองรับคีย์บอร์ดและเมาส์แบบ PS/2 อย่างละช่อง
Share:

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทำความรู้จักคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการ ทำงาน กลายเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้ เพื่อช่วยให้สามารถทำงานต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา มากกว่าเดิม และนอกจากที่ทำงานแล้ว ที่บ้านคอมพิวเตอร์ก็ได้เป็น ส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยงานส่วนตัว ด้านต่างๆ เช่น ดูหนังฟัง เพลง ใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
คอมพิวเตอร์คืออะไร
คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์
“ อุปกรณ์อะไรก็ได้ที่สามารถรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล แล้วได้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ โดยส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นคอมพิวเตอร์จะต้องประกอบไป ด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ หน่วยรับ ข้อมูล หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยแสดงผลข้อมูล ”
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
มี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟท์แวร์ (SoftWare)
3. บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น จอภาพ (Monitor) เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) ซีพียู (CPU) พรินเตอร์ (Printer) สแกนเนอร์ (Scanner) ยูพีเอส (UPS) ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM DRIVE) โมเด็ม (Modem) แผ่นดิสก์ เก็ต (Disket) แรม (Ram) ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นต้น
ซอฟท์แวร์ (Software)
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หรือเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานต่างๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดัง นี้
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุม การทำงานต่างๆ เช่น การแสดงผลข้อมูล การติดต่อกับผู้ใช้ โดย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับ คอมพิวเตอร์ให้สามารถสื่อสารกันได้ ควบคุมและจัดสรรทรัพยากร ให้กับโปรแกรมต่างๆ โปรแกรม ประเภทนี้มักเรียกกันย่อๆ ว่าโอเอส (OS)

ตัวอย่างโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows 3.1, Windows 95 OEM, Windows 95 OSR, Windows 98, Windows ME, Windows NT, Windows 2000, Windows XP, Linux, Unix เป็นต้น
2. โปรแกรมประยุกต์ (Applications)
โปรแกรมประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะทาง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร วาดภาพ ติดต่อสื่อสาร คำนวณ ฯลฯ โปรแกรมประเภทนี้มีให้เลือกใช้มาก มายเป็นหมื่นๆ โปรแกรม ผู้ใช้สามารถ สร้างขึ้นเองได้ เพื่อให้ตรงกับงานที่ทำมากที่สุด

ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ เช่น Microsoft Office, PageMaker, Photoshop, Cute FTP, WinAmp, Netscape, Internet Explorer ฯลฯ
บุคลากร (Peopleware)
เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น คนใช้ คนขาย คนสอน คนซื้อ คนสร้าง โปรแกรม คนผลิต โดยสรุปแล้วก็คือ บุคคลทุกคนที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง กับคอมพิวเตอร์นั่นเอง
Share:

การซื้อคอมพิวเตอร์หรือโนัตบุ๊คมือสองไว้ใช้งาน

 ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคาไม่แพงมาก แต่สำหรับคนที่งบน้อยจริงๆ ก็ยังพอจะมีทางเลือกในการซื้อหาคอมพิวเตอร์มือสองราคาประหยัดไว้ใช้งาน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์มือสองจากญี่ปุ่น ซึ่งมีการนำเข้ามาทำตลาดมากพอสมควรในบ้านเรา

คอมพิวเตอร์มือสองเหล่านี้คุณภาพในการผลิตค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่เราสั่งประกอบ เพราะได้รับการตรวจสอบคุณภาพอย่างดี การออกแบบดีกว่า ทนทานกว่า หลายเครื่องเป็นเครื่องโชว์ไม่ได้ใช้งานหนักมากนัก
ตัวอย่าง Fujitsu รุ่น FMV-B8200 เครื่องนี้ ผลิตเมื่อปี 2005 รองรับการใส่แรมได้ 2 Gb แบตเตอรี่ยังอึดได้ 3 ชั่วโมง รองรับการติดตั้ง Windows XP/7 และ 8 ล่าสุด ส่วนข้อด้อยก็คือ ต้องสำรองอุปกรณ์บางตัวไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เพราะใช้ขนาดเล็ก หายาก การใช้เครื่องมือสองแบบนี้ ต้องสำรองไว้เผื่อเสีย เครื่องนี้รวมราคาซื้อเมื่อสองปีที่แล้วอยู่ที่ 5500 บาท ปัจจุบัน (พ.ค 2556) จากที่เดินสำรวจในเซียร์เห็นอยู่ราคาประมาณ 3500-4000 ยังมีขายอยู่บ้าง แต่ก็หายาก
นี่แค่ยกตัวอย่างนะครับ เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเงินมากนัก (แต่ถ้ามีเงินมากๆ ก็มองข้ามไปเลย) แต่อยากได้โน้ตบุ๊คที่ไว้ใจได้ ไว้ใช้งานสักเครื่อง เพราะหากเราเน้นใช้งานทั่วๆ ไปเท่านั้น โน้ตบุ๊คมือสองดีๆ เหล่านี้ หาซื้อได้ตั้งแต่ราคาประมาณ 3000 บาทขึ้นไปเท่านั้นเอง เลือกเฉพาะยี่ห้อดีๆ อย่าง IBM, Fujitsu, Toshiba รับรองไม่เสียอารมณ์แน่นอน
นอกจากโน้ตบุ๊คมือสองแล้ว คอมพิวเตอร์มือสองก็เช่นกัน หากเน้นใช้งานธรรมดาทั่วไป ท่องเน็ต ฟังเพลง พิมพ์งาน แช็ต ก็มีคอมพิวเตอร์มือสองราคาเบาๆ ให้เลือก แนะนำให้เลือกโดยเพิ่มแรมอย่างน้อย 2 Gb ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นวางขายในเซีร์ยรังสิต เสป็คเท่าที่เห็นรองรับการติดตั้ง Windows 8 ได้สบายๆ นั่นก็หมายความว่าด้วยงบประมาณที่ 5-6000 บาท รวมทุกอย่างแล้ว ได้เครื่องคุณภาพดีกว่าเครื่องประกอบแน่นอน เน้นยี่ห้อดีๆ เช่นกัน เช่น Fujitsu, Lenovo, Dell เป็นต้น
Share:

เลือกใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อประหยัดค่าไฟ

ปกติจะใช้โน้ตบุ๊คทำงาน พักหลังๆ เปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ผลที่เห็นชัดเมื่อสิ้นเดือนก็คือ ค่าไฟเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว การเลือกคอมพิวเตอร์มาใช้งาน หากเลือกไม่เหมาะสม ค่าไฟบานปลายแน่นอน เพราะหลายบ้าน เป็นครอบครัวใหญ่ มีคอมพิวเตอร์คนละเครื่อง ค่าไฟจึงไม่ต้องพูดถึง หากใช้งานคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะกันคนละเครื่อง

หากเลือกใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานหรือความจำเป็นที่ต้องใช้งานจริงๆ แล้วก็จะช่วยได้มากเลยทีเดียว
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเหมาะกับงานแบบใด
คอมพิวเตอร์แบบนี้จะให้พลังการประมวลผลที่ดี ทนทาน รองรับงานหนักๆ ได้ดี แต่ต้องแลกกับค่าไฟที่มากกว่าโน้ตบุ๊คไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัวหรือมากกว่า ตรงนี้ผมก็เปรียบเทียบกับการใช้งานจริงๆ ของตัวเอง ซึ่งนอกจากจะเสียค่าไฟมากกว่าแล้ว ยังร้อนกว่าด้วย เพราะเครื่องจะปล่อยความร้อนออกมามากกว่า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำความเย็นเพิ่มขึ้นอีก
เราไปดูกันว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะควรจะใช้กับงานประเภทใด ตัวอย่างเช่น
1. เล่นเกม โดยเฉพาะเกม 3 มิติ จะต้องการเสป็คเครื่องค่อนข้างสูง ซึ่งตามมาด้วยค่าไฟที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
2. การทำงานด้านการตัดต่อวิดีโอ ต้องใช้การประมวลผลที่เร็วเช่นกัน จึงต้องการเสป็คเครื่องค่อนข้างดี
3. การสร้างสิ่งพิมพ์ กราฟิค ในขั้นตอนการสร้างไฟล์แบบ PDf เพื่อเตรียมส่งโรงพิมพ์หรือร้านเพลทนั้นจะต้องการการประมวลผลที่ค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะหากเปิดร้านรับทำสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะ ไม่อย่างนั้นอืดเป็นเรือเกลือแน่ กว่าจะแปลงเป็นไฟล์ PDf ได้แต่ละไฟล์ อย่างหนังสือคอมพิวเตอร์ที่เห็นๆ วางขายในท้องตลาด การสร้างไฟล์ PDF เพื่อนำไปทำเพลท ก่อนส่งโรงพิมพ์ บางไฟล์มีขนาดหลาย GB เคยลองสร้างด้วยโน้ตบุ๊ค ใช้เวลาร่วมชั่วโมง ในขณะที่ใช้พีซีแค่สิบกว่านาทีเท่านั้นเอง
4. งานบางอย่างไม่หนัก แต่ต้องจัดการกับบางอย่างปริมาณมากๆ เช่น การเขียนซีดี งานแบบนี้จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค
โน้ตบุ๊คใช้งานสะดวก ประหยัดไฟ และสร้างความร้อนน้อยกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แต่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป หลายคนจะมีคอมพิวเตอร์ไว้อย่างน้อยสองเครื่อง คือโน้ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะอย่างละเครื่อง ไว้ใช้งานแยกกัน ตามประเภทของงาน ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้พอสมควร
การเลือกซื้อโน้ตบุ๊คมาใช้งานนั้น นอกจากเครื่องมือสองยี่ห้อดีๆ ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นแล้ว การเลือกเครื่องใหม่ก็ต้องดูรุ่น ดูยี่ห้อเช่นกัน แล้วไปค้นหาข้อมูลใน Google.co.th โดยพิมพ์ชื่อรุ่นและยี่ห้อ เพื่อหาข้อมูลข้อดีข้อเสีย ก่อนจะเลือกมาใช้งานจริง
Share:

ความชื้นทำให้คอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน

บทความแนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเอง กรณีคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คไม่ทำงาน เพราะความชื้นทำให้แรม การ์ดจอ หรือการ์ดอื่นๆ ที่ติดตั้งลงบนเมนบอร์ดมีปัญหา เครื่องมองไม่เห็น เปิดเครื่องไม่ได้ เป็น อาการที่เจอกับเครื่องมือสองจากญี่ปุ่นทั้ง 3 เครื่องเลย ที่ผมใช้งานอยู่
 การแก้ปัญหาในโน้ตบุ๊ค
สำหรับโน้ตบุ๊คจะมีแรมที่เป็นส่วนประกอบที่ต้องเสียบหรือต่อเพิ่มลงไปในเมนบอร์ด จากการใช้งานเครื่องรุ่นนี้ มีปัญหาบ่อยมาก เพราะความชื้นทำให้มองไม่เห็นแรม เปิดเครื่องแล้วเงียบไม่มีอะไรบนหน้าจอ เวลาเอา ไปซ่อม ก็ไม่พบอาการผิดปกติแต่อย่างใด และทุกครั้งที่เอาเข้าไปที่เซียร์ พ่อประคุณทูลหัว ก็จะหายเป็นปกติ เสียค่าน้ำมันและค่าซ่อมรวมๆ ไปหลายลัง
ตอนนี้ก็ลองแก้ไขง่ายๆ ด้วยการเอาน้ำยาไล่ความชื้นอย่างโซแนก ฉีดเข้าไปไม่ต้องมากนะครับ แล้วเปิดพัดลมเป่าให้แห้ง ก็สามารถเปิดเครื่องได้ตามปกติ
การแก้ปัญหาในคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
กรณีคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็เช่นเดียวกัน แต่จะให้ดีควรหาตัวดูดความชื้นมาไว้ในเคสเลยจะดีกว่า ป้องกันไว้ก่อน สำหรับคอมพิวเตอร์แบบนี้ นอกจากแรมแล้วก็จะมีการ์ดจอหรือการ์ดอื่นๆ ก็จัดการฉีดบางๆ ไล่ ความชื้นได้เช่นเดียวกัน
การทำความสะอาดหน้าสัมผัสการ์ดจอหรือแรมด้วยยางลบ
การแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ด้วยการเอายางลบมาลบคราบสกปรก ที่ตัวหน้าสัมผัสการ์ดจอหรือแรม เดี๋ยวนี้กลับใช้ไม่ได้ผล เหมือนกับว่า อาการป่วยของมัน เชื้อมีการพัฒนาตนเอง ฮา แต่ทั้งนี้ถ้าไม่มีตัวฉีดไล่ ความชี้นก็ลองใช้วิธีนี้แก้ขัดก่อนก็ได้
Share:

ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ 082-663-3157

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Blog Archive

Followers

Blog Archive