วันนี้ (2 ส.ค.) สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ในกรุงวอชิงตัน ลงมติเมื่อวันพฤหัสบดี ให้ขยายเวลากฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่าต่ออีก 3 ปี แต่ให้อำนาจรัฐบาลยกเลิกคำสั่งดังกล่าวได้ หากรัฐบาลพม่าเดินหน้าปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจต่อไป และคาดกันว่าวุฒิสภาสหรัฐจะผ่านมติเช่นเดียวกัน ในอีกไม่นาน ก่อนจะส่งต่อให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ ลงนามเพื่อมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย
การปฏิรูปหลายแนวทางอย่างต่อเนื่อง ของรัฐบาลใหม่พม่าที่มาจากการเลือกตั้ง นำโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ทำให้ชาติตะวันตกยกเลิกหรือเริ่มผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า ในส่วนของสหรัฐได้ผ่อนคลายคว่ำบาตรบางส่วน เริ่มจากเดือนที่แล้ว ซึ่งอนุมัติให้บริษัทต่างๆ ของสหรัฐ เข้าไปลงทุน รวมทั้งจัดสรรบริการด้านการเงินในพม่า แต่มาตรการคว่ำบาตรหลายส่วนยังคงอยู่ รวมถึงการห้ามนำเข้าสินค้าพม่า ซึ่งสหรัฐต่อขยายระยะเวลามาตลอด นับตั้งแต่ผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรสสหรัฐเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2546
นายเดฟ แคมป์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวภายหลังสภาล่างลงมติ ว่า ต้องยอมรับว่าพม่ามีพัฒนาการในทางบวก ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม พม่ายังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในอนาคต โดยเฉพาะการสานต่อการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยตัวนักโทษการเมือง ปรับปรุงสภาวะสิทธิมนุษยชน เปิดเสรีการแสดงออกความคิดเห็น ให้เสรีภาพต่อสื่อ การร่วมชุมนุม และเสรีภาพทางศาสนา รวมทั้งการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย ก่อนที่จะสหรัฐจะยกเลิกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่าทั้งหมด.
นายเดฟ แคมป์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวภายหลังสภาล่างลงมติ ว่า ต้องยอมรับว่าพม่ามีพัฒนาการในทางบวก ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม พม่ายังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในอนาคต โดยเฉพาะการสานต่อการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยตัวนักโทษการเมือง ปรับปรุงสภาวะสิทธิมนุษยชน เปิดเสรีการแสดงออกความคิดเห็น ให้เสรีภาพต่อสื่อ การร่วมชุมนุม และเสรีภาพทางศาสนา รวมทั้งการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย ก่อนที่จะสหรัฐจะยกเลิกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่าทั้งหมด.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น