วันนี้ (12 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างวันที่ 15-17 ต.ค.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ มีกำหนดการเยือนรัฐคูเวตอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ACD นายกรัฐมนตรีจะหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐคูเวต เพื่อกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยเฉพาะในสาขาด้านอาหาร เกษตร อุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และขยายโอกาสด้านการลงทุน พร้อมเชิญชวนให้คูเวตมาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดทุนไทย รวมทั้งโครงการพัฒนาอาเซียน อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง โดยการเดินทางครั้งนี้ได้นำภาคเอกชนไทยจากหลากหลายสาขาร่วมคณะไปด้วย และนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้กล่าวเปิดงานกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุน ระหว่างไทยและคูเวต เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของคูเวตต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ของไทยด้วย
ทั้งนี้การประชุม ACD เป็นกรอบความร่วมมือที่ไทย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2545 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย รวมทั้งเป็นเวทีหารือระดับนโยบาย ปัจจุบันมีสมาชิก 32 ประเทศ รวมทั้งองค์กรกลางระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ (UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นต้น โดยในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมระดับผู้นำเป็นครั้งแรก มีเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตเป็นประธานการประชุม และมีผู้นำจากประเทศสมาชิกระดับประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลเข้าร่วม7 ประเทศ อาทิ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ดารุสซาลาม สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบาห์เรน ซึ่งนายกรัฐมนตรี จะใช้โอกาสนี้ขอบคุณองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ที่ได้ให้การสนับสนุนไทยในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ รวมทั้งจะหารือทวิภาคีเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับผู้นำ ประเทศต่างๆ เช่น ศรีลังกา และทาจิกิสถาน
ทั้งนี้การประชุม ACD เป็นกรอบความร่วมมือที่ไทย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2545 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย รวมทั้งเป็นเวทีหารือระดับนโยบาย ปัจจุบันมีสมาชิก 32 ประเทศ รวมทั้งองค์กรกลางระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ (UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นต้น โดยในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมระดับผู้นำเป็นครั้งแรก มีเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตเป็นประธานการประชุม และมีผู้นำจากประเทศสมาชิกระดับประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลเข้าร่วม7 ประเทศ อาทิ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ดารุสซาลาม สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบาห์เรน ซึ่งนายกรัฐมนตรี จะใช้โอกาสนี้ขอบคุณองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ที่ได้ให้การสนับสนุนไทยในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ รวมทั้งจะหารือทวิภาคีเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับผู้นำ ประเทศต่างๆ เช่น ศรีลังกา และทาจิกิสถาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น