วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
“สดศรี” ชี้ กรณีสุเทพ กกต.เคยยกคำร้องไปแล้ว
“สดศรี” ชี้ กรณีสุเทพ กกต.เคยยกคำร้องไปแล้ว วุฒิสภาต้องเดินหน้าตามที่ ป.ป.ช.ส่ง เชื่อมีข้อกฎหมายต้องส่งเรื่องให้ศาลรธน.
วันนี้( 27 ก.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณีที่ ป.ป.ช.ส่งเรื่องให้วุฒิสภาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กรณีการส่งคนไปช่วย งานที่กระทรวงวัฒนธรรม ถื่อว่า เป็นการก้าวก่ายและหาผลประโยชน์ ว่า ในเรื่องดังกล่าวเคยมีผู้ร้องมาที่กกต. และกกต.ก็ได้พิจารณาไปแล้ว โดยเสียงข้างมากเป็นควรให้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่า นายสุเทพได้มีการถอนเรื่องที่ส่งคนไปกระทรวงวัฒนธรรม ออกไปก่อนแล้ว จึงถือว่าความผิดยังไม่สำเร็จ ซึ่งกรณีดังกล่าวตนเห็นว่า เป็นการพิจารณาจากกฎหมายคนละฉบับกับโดยคณะกรรมการป.ป.ช. ก็มองในมองในเรื่องของจริยธรรมของผู้ที่เป็นนักการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการวินิจฉัยของ 2 องค์กรที่แตกต่างก็ได้กันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขององค์กรนั้น ๆ ในส่วนของกกต.ก็มาพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะเป็นส.ส.ต่อไปหรือไม่ และในส่วของกกต.มีมีมติไปแล้วด้วยเสียงข้างมากให้ยกคำร้องจึงถือว่ายุติไปแล้วคงจะนำมาพิจารณาอีกไม่ได้ และคงไม่ผ่านมายัง
นางสดศรี กล่าวอีกว่า หลังจากที่ป.ป.ช.ส่งให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาเรื่องการถอดถอนแล้ว ก็อาจจะมีประเด็นข้อกฎหมายให้พิจารณา ว่า หากที่ประชุมมีมติถอดถอนนายสุเทพแล้ว ทางวุฒิสภาจะมีอำนาจในการถอนถอนตาม มติได้เลยหรือไม่ หรือจะต้องส่งเรื่องกลับมาให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้สั่งเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งส.ส.ด้วยว่า การร้องเรียนดังกล่าวเป็นการร้องตั้งแต่นายสุเทพเป็นส.ส.เขตในการเลือกตั้งใหญ่ทั้งประเทศ ที่ได้ลาออกไปแล้ว จะถือได้วว่านายสุเทพได้สิ้นสภาพไปก่อนแล้วหรือไม่ และจะส่งผลถึงสถานะปัจจุบันที่ นายสุเทพที่รับการเลือกตั้งจากการเลือกตั้งซ่อมหรือไม่
เมื่อถามว่า การออกมาของป.ป.ช.ตอนนี้ยิ่งทำให้พรรคการเมืองมีความพยายามที่จะลดอำนาจองค์กรอิสระลงหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า การดำเนินการของป.ป.ช.เป็นการทำให้เห็นว่าป.ป.ช.ไม่ได้เข้าข้างใคร และประจวบเหมาะพอดี และอาจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เขาจะยบุองค์กรอิสระลงเร็วขึ้นก็ได้ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างนี้ ก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพราะการกระทำของนัการเมืองจะเข้าไปก้าวก่ายงานประจำไม่ได้ เมื่อตรวจสอบแล้วว่ามีพฤติกรรมดังกล่าวก็ต้องดำเนินการไป ถ้าจะทำให้นักการเมืองไม่พอใจก็เป็นเรื่องของเขา แต่ก็อาจะเป็นเหตุให้มาลดอำนาจองค์กรอิสระได้
“องค์กรอิสระจะอยู่หรือไม่เป็นเรื่องของพรรคการเมือง แต่การทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระต้องทำอย่างตรงไป ตรงมา และทำหน้าที่ให้เห็นว่าเป็นกลางจริง เมื่อมานั่งตรงนี้จะต้องปิดตาแล้วพิจารณาโดยไม่สนว่าคุณเป็นใคร และคนที่เป็นองค์กรอิสระจะต้องไม่มีอคติในใจ ว่าพรรคนั้น พรรคนื้ หรือคนนั้น คนนี้ ไม่ได้ อย่างไรก็ตามตนก็ไม่เห็นด้วยว่าจะให้องค์กรอิสระมาจากการเลือกตั้งเพราะจะมีการล็อบบี้กันมาได้ง่าย” นางสดศรี กล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น